คำถามที่พบประจำ

ระบบยื่นขอรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นโดย สดช. เพื่อใช้สนับสนุนการรับรองหลักสูตร และการบริหารจัดการและการติดตามผลการรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ โดยระบบฯ จะอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก ในการยื่นขอรับรองหลักสูตร และยื่นสมัครเป็นผู้ประเมินหลักสูตร นอกจากนี้ ยังเผยแพร่และประกาศข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ ตลอดจนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองหลักสูตร และการรับสมัครผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ประเมินหลักสูตรอีกด้วย
หลักสูตรใด ๆ ที่สอดคล้องตามทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามเกณฑ์ ว6/2561 หรือ มาตรฐานอื่นที่ สดช. ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) หลักสูตรพื้นฐาน (2) หลักสูตรเฉพาะด้าน และ (3) หลักสูตรดิจิทัลอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอรับรองฯ สามารถเลือกที่จะยื่นหลักสูตรเพื่อขอรับรองเข้ามากับ สดช. ได้ทั้งหลักสูตรที่จัดทำขึ้นมาใหม่ หรือหลักสูตรเดิมที่เคยจัดอบรมก่อนหน้า โดยจะต้องนำส่งผลการทดลองสอนหรือผลการประเมินการอบรมให้ สดช. พิจารณา อย่างไรก็ดี เพื่อให้การรับรองหลักสูตรเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สดช. อนุญาตให้บางหลักสูตรตามทักษะด้านดิจิทัลที่กำหนดในแต่ละปี ได้รับการยกเว้นไม่ต้องการทดลองสอน หรือนำส่งข้อมูลการจัดอบรมและผลประเมินการสอน ให้ สดช. เพื่อตรวจประเมินฯ (แต่จะให้ดำเนินการจัดส่งมาในภายหลังจาก สดช. ได้ทำการรับรองหลักสูตรไปแล้ว)
ควรสอดคล้องตามกรอบทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามเกณฑ์ ว6/2561 ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถ (ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก) ความรู้ ประสบการณ์ คุณลักษณะ และสมรรถนะ (ซึ่งเป็นองค์ประกอบเสริม) โดยความสามารถ แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ (1) ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) (2) ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล (Digital Governance, Standard, and Compliance) (3) ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร (Digital Technology) (4) ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล เพื่อการพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ (Digital Process and Service Design) (5) ความสามารถด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ (Strategic and Project Management) (6) ความสามารถด้านผู้นำดิจิทัล (Digital Leadership) และ (7) ความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (Digital Transformation) แต่ละด้านยังแบ่งออกเป็นหน่วยความสามารถ (UoC) ซึ่งมีทั้งหมด 39 หน่วยความสามารถ และแต่ละหน่วยความสามารถยังแตกแยกย่อยลงไปเป็นความสามารถย่อย (EoC) และเกณฑ์ปฏิบัติ (PC) อีกด้วย
สามารถสืบค้นจากหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 27 ลงวันที่ 29 กันยายน 2552 เรื่อง มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ นอกจากนี้ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่ของสำนักงาน ก.พ. ได้ที่ https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/circular/w6-2561-attachment_0.pdf
สมาชิก หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการสมัครขอใช้งานในระบบขอรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1. ผู้เสนอหลักสูตร หมายถึง ผู้ที่ประสงค์ยื่นขอรับรองหลักสูตรกับ สดช. และ 2. ผู้ทรงคุณวุฒิ หมายถึง ผู้ที่ประสงค์ยื่นสมัครเป็นผู้ประเมินหลักสูตรกับ สดช.
การสมัครสมาชิกในระบบฯ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ [ขั้นตอน 1] กด “สมัครสมาชิก” บนเมนูด้านขวาบน ของระบบ TACC [ขั้นตอน 2] กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง [ขั้นตอนที่ 3] ทำการยืนยันตัวตนผ่านอีเมล ก็เป็นอันเสร็จ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามทาง Call Center (ช่องทางติดต่อปรากฏในด้านล่างของเว็บไซต์) ตั้งแต่ 8.30 - 16.30 น. ในวันและเวลาราชการ หรืออีเมล tacc@onde.go.th
ผู้ที่สามารถยื่นขอรับรองหลักสูตรกับ สดช. ต้องเป็นสถาบันหรือหน่วยงานในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1. สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงศึกษาธิการ รวมไปถึงกระทรวงอื่น ๆ ที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 2. หน่วยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอบรม 3. สถาบันอบรมเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ 4. สถาบันที่ได้รับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย รวมถึงบุคคลหรือนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามที่กฎหมายไทยกำหนด และที่ต้องรับผิดตามกฎหมายแห่งประเทศไทย โดยให้สามารถจัดอบรมในหัวข้อเฉพาะได้ ทั้งนี้ สถาบันหรือหน่วยงานกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งข้างต้น ที่ประสงค์ยื่นขอรับรองหลักสูตร ให้ทำการสมัครสมาชิกเป็น “ผู้เสนอหลักสูตร” ก่อน จึงจะสามารถยื่นขอรับรองหลักสูตรผ่านระบบได้
การยื่นขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรกับ สดช. มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ [ขั้นตอน 1] ยื่นคำขอรับการประเมินฯ : ผู้ยื่นคำขอรับการประเมินฯ ยื่นแบบฟอร์ม หลักฐานประกอบตามที่กำหนด ผ่านระบบ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) แก่ สดช. [ขั้นตอน 2] ตรวจสอบเอกสาร : สดช. ดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารและหลักฐาน โดยใช้เวลาในการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารภายใน 3-7 วัน ขึ้นอยู่กับประเภท คุณลักษณะ และรูปแบบการจัดอบรมของหลักสูตร [ขั้นตอน 3] ตรวจประเมินฯ : สดช. ดำเนินการจัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ประเมินหลักสูตร ทำการตรวจประเมินหลักสูตร ตามแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์ที่ สดช. กำหนด โดยใช้เวลาในการตรวจประเมินฯ ภายใน 21 วัน [ขั้นตอน 4] ประชุมสรุปผลเพื่อการตัดสิน : สดช. จัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพิจารณาสรุปผลการประเมินหลักสูตร [ขั้นตอน 5] แจ้งผลการตัดสิน : สดช. แจ้งผลการตัดสิน ให้ผู้ยื่นคำรับการประเมินฯ รับทราบ ผ่านระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาใน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองหลักสูตรฯ หรือ คู่มือผู้ยื่นขอรับรองหลักสูตร หรือติดต่อสอบถามทาง Call Center (ช่องทางติดต่อปรากฏในด้านล่างของเว็บไซต์) ตั้งแต่ 8.30 - 16.30 น. ในวันและเวลาราชการ หรืออีเมล tacc@onde.go.th
แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) รับรอง หมายถึง หลักสูตรได้รับการรับรองอย่างสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไข สามารถดำเนินการจัดอบรมได้ทันทีโดยจะได้รับการรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรมเป็นระยะเวลา 1-3 ปี (ขึ้นกับประเภทของหลักสูตร) และสถาบันอบรมต้องส่งผลการอบรมให้กับ สดช. ภายใน 30 วันหลังจากสิ้นสุดการอบรมทุกรอบ (2) รับรองแบบมีเงื่อนไข หมายถึง หลักสูตรได้รับการรับรองอย่างมีเงื่อนไข โดยสถาบันอบรมต้องทำการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ สดช. พิจารณาอีกครั้งภายใน 60 วัน และสามารถจัดการอบรมได้ตามที่ระบุไว้ในเอกสารหลักสูตรที่ปรับปรุงตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว และต้องส่งผลการอบรมให้กับ สดช. ภายใน 30 วันหลังจากสิ้นสุดการอบรมทุกรอบ (3) ปรับปรุงเล็กน้อย หมายถึง หลักสูตรต้องปรับปรุงเล็กน้อยก่อนเพื่อรับการรับรอง สถาบันอบรมต้องปรับแก้เอกสารหลักสูตรใหม่ และส่งเอกสารให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและยื่นเอกสารใหม่เพื่อให้ สดช. รับรองอีกครั้ง ภายใน 120 วัน และ (4) ปรับปรุง หมายถึง หลักสูตรยังไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ สดช. กำหนด สถาบันอบรมต้องปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรใหม่ ให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และดำเนินการยื่นขอการรับรองอีกครั้ง โดยต้องผ่านการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง
กระบวนการรับรองหลักสูตร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน โดยหากเอกสาร หลักฐานที่ยื่นคำขอฯ มีความถูกต้องและครบถ้วนตามที่หลักเกณฑ์กำหนดแล้ว จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาและประเมินอ่านหลักสูตร 21 วัน และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการส่วนอื่น ๆ อีก 15-30 วัน (เป็นเวลาประมาณการ อาจเปลี่ยนแปลงจากเวลาดังกล่าว ขึ้นกับประเภท คุณลักษณะ รูปแบบการจัดอบรมของหลักสูตร ความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสาร หลักฐาน ผลการพิจารณาประเมินหลักสูตรของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนรอบการพิจารณาตัดสินรับรองหลักสูตรของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจะมีอายุดังนี้ (1) มีอายุการรับรองระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่มีมติตัดสินรับรองหลักสูตร สำหรับหลักสูตรประเภท “หลักสูตรที่จัดทำขึ้นใหม่” หรือ “หลักสูตรเดิม ที่เคยจัดอบรมก่อนหน้า” โดยหลังจากครบอายุการรับรอง สถาบันอบรมต้องดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและยื่นขอการรับรองอีกครั้ง และ (2) มีอายุการรับรองระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่มีมติตัดสินรับรองหลักสูตร สำหรับหลักสูตรประเภท “หลักสูตรที่ได้รับการยกเว้นการจัดอบรมก่อนหน้า” โดยระหว่างในช่วงของการรับรอง สถาบันอบรมจะต้องดำเนินการทดลองสอน จัดเก็บข้อมูลการจัดอบรม และนำส่งผลการประเมินการสอนให้ สดช. ตามเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ สถาบันอบรมต้องดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนำส่งหลักสูตรกลับเข้ามาพิจารณาให้ สดช. เพื่อพิจารณารับรองอีกครั้ง
1. ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีรายชื่อหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง และ สดช. จะมีการเผยแพร่รายชื่อหลักสูตรดังกล่าวผ่านช่องทางเว็บไซต์ระบบ TACC ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถมาสืบค้น รับทราบถึงหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันอบรมที่ได้รับการรับรอง และเลือกพิจารณาในการส่งบุคลากรมาเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเหล่านั้น 2. ได้รับตราสัญลักษณ์รับรองจาก สดช. ซึ่งสถาบันอบรมสามารถนำไปใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ในหลักสูตรของตน หรือใส่ในประกาศนียบัตรได้ และ 3. หลักสูตรได้รับการตรวจประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ได้รับข้อเสนอแนะ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันอบรม ในการปรับปรุงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น
บุคคลทั่วไปที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ในสาขาหรือด้านที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ และประเด็นทักษะด้านดิจิทัลที่สอดคล้องตามกรอบแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐของประเทศไทย (ตามเกณฑ์ ว6) ครอบคลุมทั้งอาจารย์/ผู้สอนในสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยหรือสถาบันจัดอบรมต่าง ๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินและการจัดการเรียนการสอน ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหาระดับสูง หรือผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ และประเด็นทักษะด้านดิจิทัลฯ ที่กล่าวไว้ รวมไปถึงผู้มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ และประเด็นทักษะด้านดิจิทัลฯ ที่กล่าวไว้ ทั้งนี้ ให้บุคคลข้างต้น ทำการสมัครสมาชิกเป็น “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ก่อน จึงจะสามารถยื่นสมัครเป็นผู้ประเมินหลักสูตรผ่านระบบได้
การยื่นสมัครเป็นผู้ประเมินหลักสูตรกับ สดช. มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ [ขั้นตอน 1] ยื่นสมัคร : ผู้ยื่นสมัครเป็นผู้ประเมินหลักสูตร ต้องยื่นแบบฟอร์มสมัคร หลักฐานประกอบการคัดเลือก ตามที่ สดช. กำหนด [ขั้นตอน 2] ตรวจสอบเอกสาร : สดช. ดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารและหลักฐานประกอบ โดยใช้เวลาในการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารภายใน 3-7 วัน [ขั้นตอน 3] พิจารณาคัดเลือก : สดช. สรุปบัญชีรายชื่อผู้สมัคร และนำเรียนให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาตัดสินคัดเลือกเป็นผู้ประเมินหลักสูตร [ขั้นตอน 4] แจ้งผลการตัดสิน : สดช. แจ้งผลการตัดสินให้ผู้ยื่นสมัครที่ได้รับคัดเลือกทราบ โดยใช้เวลาในการจัดทำหนังสือแจ้งผลการตัดสินภายใน 3 วัน [ขั้นตอน 5] รับทราบการเป็นผู้ประเมิน : ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกและได้รับแจ้งผลการตัดสินจาก สดช. แล้ว จัดส่งใบลงนามรับทราบและถือเป็นผู้ประเมินหลักสูตร ตามที่ สดช. กำหนด ภายใน 14 วันนับจากวันที่ได้รับทราบผลการคัดเลือก รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาใน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมินหลักสูตรฯ หรือ คู่มือผู้ยื่นสมัครเป็นผู้ประเมินหลักสูตร หรือติดต่อสอบถามทาง Call Center (ช่องทางติดต่อปรากฏในด้านล่างของเว็บไซต์) ตั้งแต่ 8.30 - 16.30 น. ในวันและเวลาราชการ หรืออีเมล tacc@onde.go.th
ผู้เชี่ยวชาญ ที่มาเป็นผู้ประเมินหลักสูตร ต้อง (1) มีความเข้าใจมาตรฐานการตรวจสอบและรับรอง และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (2) มีความรู้ในขั้นตอนการดำเนินงานและเอกสารที่ใช้ในการตรวจประเมิน (3) มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ประเมิน และ (4) ปลอดจากผลประโยชน์ที่อาจทำให้ผู้ประเมินปฏิบัติตนอย่างไม่เป็นกลาง ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่เสมอภาค เช่น เคยให้คำปรึกษาแก่สถาบันอบรมซึ่งอาจมีผลต่อกระบวนการและการตัดสินการประเมินหลักสูตร เป็นผู้สอน หรือผู้ช่วยสอน หรือมีความเกี่ยวข้องกับการจัดอบรมภายใต้หลักสูตรที่ยื่นขอรับการประเมิน มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจ เป็นต้น
กระบวนการยื่นสมัครและคัดเลือกเป็นผู้ประเมินหลักสูตร ตั้งแต่ขั้นตอนยื่นสมัคร จนถึงขั้นตอนรับทราบการเป็นผู้ประเมิน ใช้ระยะเวลา 8-25 วัน (เป็นเวลาประมาณการ อาจเปลี่ยนแปลงจากเวลาดังกล่าว ขึ้นกับความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสาร หลักฐานที่ผู้ยื่นสมัครจัดส่งให้กับ สดช. ตลอดจนรอบการพิจารณาตัดสินรับรองหลักสูตรของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
ผู้ประเมินหลักสูตร จะได้รับประโยชน์ดังนี้ 1. ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญดิจิทัล (Pool Lists) ของ สดช. ทำให้ได้รับข้อมูล ข่าวสาร และการเรียนเชิญเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ สดช. ในอนาคต 2. ได้รับการอบรมในหลักสูตรผู้ประเมินหลักสูตร ที่ สดช. จัดสรร และจัดอบรมให้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ อีกทั้ง ทุกๆ ปี จะได้รับเชิญให้เข้าอบรมหลักสูตรดังกล่าวและหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนความเข้าใจ และ/หรืออัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองหลักสูตรและการตรวจประเมิน และ 3. ได้ร่วมตรวจประเมินหลักสูตรกับ สดช. และกำหนดคุณภาพหลักสูตรการอบรมและการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
ผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ประเมินหลักสูตร ต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินที่จัดทำขึ้นโดย สดช. ก่อนการทำการประเมินหลักสูตรในครั้งแรก และต้องเข้ารับการอบรมฯ เป็นประจำทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจมาตรฐานการตรวจสอบและรับรอง และหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ขั้นตอน ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินและรับรองหลักสูตร นอกจากนี้ ต้องปฏิบัติหน้าที่อ่านพิจารณาหลักสูตรในหลักสูตรที่ สดช. มอบหมาย โดย สดช. จะมีการประสานติดต่อ และทาบทามผู้เชี่ยวชาญที่มีสาขาความเชี่ยวชาญตรงกับสาขาของเนื้อหาที่หลักสูตรมุ่งเน้นเข้ามาทำหน้าที่อ่านประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินหลักสูตร มีวาระของการเป็นผู้ประเมินหลักสูตรคราวละ 5 ปี และสามารถต่ออายุของวาระได้ไม่จำกัด โดย (1) ผู้ประเมินหลักสูตร ที่สิ้นสุดวาระของการเป็นผู้ประเมิน และประสงค์ต่ออายุวาระ ต้องทำการยื่นสมัครกับ สดช. เพื่อเข้าสู่กระบวนการสมัครและคัดเลือกเป็นผู้ประเมินหลักสูตร และ (2) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการปฏิบัติหน้าที่การเป็นผู้ประเมินหลักสูตร สามารถยื่นสมัคร (เพื่อต่ออายุวาระการเป็นผู้ประเมินหลักสูตร) ล่วงหน้าไม่เกิน 120 วัน ก่อนวันที่สิ้นสุดวาระของการเป็นผู้ประเมิน
แบ่งออกเป็น 14 ด้าน ได้แก่ (1) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) (2) นโยบาย มาตรฐาน และกฎระเบียบ (Digital Governance Standard and Compliance) (3) เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) (4) การบริการข้อมูล และการบริหารโครงการ (Strategic and Project Management) (5) ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล (Digital leadership) (6) การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) (7) ระบบซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรม (8) ฮาร์ดแวร์ และระบบเครือข่าย (9) Internet of Things (IoT) (10) ปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลขนาดใหญ่ วิทยาการข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง (AI, Big Data, Data Science, Machine Learning) (11) สื่อดิจิทัล (Digital Media) (12) บล็อกเชน (Block Chain) (13) ความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) และ (14) อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านดิจิทัลตามที่ สดช. เห็นสมควร

ยังมีข้อสงสัยที่ยังไม่ได้รับคำตอบ?

คุณสามารถส่งคำถามโดยกดปุ่ม "สอบถามเพิ่มเติม" เมื่อเราได้รับคำถามจะดำเนินการตอบกลับอย่างเร็วที่สุด